เกี่ยวกับเรา

วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อพัฒนานวัตกรรมระบบการเข้าร่วมชมรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
2. เพื่อประเมินความพึงพอใจของนวัตกรรมระบบการเข้าร่วมชมรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้น


เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้กำหนดเครื่องมือสำหรับการวิจัยเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1) เครื่องมือในการพัฒนานวัตกรรมระบบการเข้าร่วมชมรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นแบบประเมินความพึงพอใจนวัตกรรม

1) เครื่องมือในการพัฒนานวัตกรรมระบบการเข้าร่วมชมรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ เป็นการประยุกต์ใช้ระบบบริหารจัดการข้อมูล (CMS) ด้วยโปรแกรมเวิร์ดเพรส (WordPress) พร้อมด้วยปลั๊กอิน (Plugins) ที่ชื่อว่าวูคอมเมิร์ช (Woocommerce) โดยใช้สำหรับนำมาประยุกต์ในการพัฒนานวัตกรรมระบบการเข้าร่วมชมรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นแบบประเมินความพึงพอใจนวัตกรรม ประกอบไปด้วยการประเมินในแต่ละด้าน ดังนี้ 1) ด้านภาพรวมของระบบ 2) ด้านรูปแบบการใช้งาน และ 3) ด้านประสิทธิภาพของระบบและการรักษาความปลอดภัย รวมทั้งหมด 3 ด้าน จำนวน 20 ข้อ ซึ่งแบบประเมินความพึงพอใจนวัตกรรมได้ถูกประเมินโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ โดยใช้เกณฑ์การยอมรับความพึงพอใจนวัตกรรมต้องมีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป จากการประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ระบบจึงจะอยู่ในระดับเกณฑ์ความพึงพอใจในระดับที่ยอมรับได้ โดยระดับความพึงพอใจได้แบ่งระดับตามแบบของลิเคอร์ท (Likert Scale)


แบบประเมินความพึงพอใจนวัตกรรมระบบการเข้าร่วมชมรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

1) ด้านภาพรวมของระบบ
1. ความเหมาะสมของรูปแบบการนำเสนอผ่านเว็บไซต์ออนไลน์
2. ความเหมาะสมของเมนูที่จำเป็นภายในเว็บไซต์
3. ความเหมาะสมของระบบนักศึกษา
4. ความเหมาะสมของรายการชมรมประจำปีการศึกษา
5. ความเหมาะสมของชมรมที่นักศึกษาเลือกไว้แล้ว

2) ด้านรูปแบบการใช้งาน
6. การเลือกรายการชมรมประจำปีการศึกษา
7. การลงทะเบียนเข้าร่วมชมรม
8. การคำนวณอัตราค่าธรรมเนียมการเข้าร่วมชมรม
9. การยืนยันการเข้าร่วมชมรม
10. การกรอกข้อมูลส่วนตัวนักศึกษาเพื่อยืนยันการเข้าร่วมชมรม
11. การบันทึกข้อมูลการเข้าร่วมชมรม
12. การตรวจสอบข้อมูลการเข้าร่วมชมรม
13. การดูข้อมูลรายการการเข้าร่วมชมรมที่ได้ลงทะเบียนไปแล้ว
14. การแก้ไขข้อมูลส่วนตัว
15. การแก้ไขรหัสผ่าน

3) ด้านประสิทธิภาพของระบบ
16. ความเรียบง่ายและมองเห็นได้ชัดเจนของสีและตัวอักษรของเว็บไซต์
17. ความสวยงามในภาพรวมของเว็บไซต์
18. ความถูกต้องของการเข้าสู่ระบบ และการออกจากระบบ
19. ความปลอดภัยโดยรวมในการเข้าใช้งานผ่านเว็บไซต์
20. ความสะดวกโดยรวมในการเข้าร่วมชมรมผ่านเว็บไซต์

 



การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้จะใช้สถิติเชิงพรรณา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน



ผู้วิจัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐที ปิ่นทอง
http://www.pinthong.com